วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กฏหมายควบคุมร้านเหล้ารอบสถานศึกษา

กฏหมายควบคุมร้านเหล้ารอบสถานศึกษา

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

www.drsuthichai.com

                ถ้า พูดถึงเรื่องของกฎหมายควบคุมร้านเหล้ารอบสถานศึกษานั้น ปัจจุบันได้มีกฏหมายออกมาใช้แล้ว เพียงแต่การบังคับใช้ไม่ได้ทำกันอย่างจริงจัง ซึ่งก็ถือว่าเป็นปกติของบ้านเมืองเราที่มีปัญหา เรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย ดังที่พวกเราได้เห็นกันว่ากฎหมายหลายตัวไม่ได้มีการบังคับใช้กันอย่างจริงๆ จังๆ กฎหมายควบคุมร้านเหล้ารอบสถานศึกษาก็เช่นกัน

                ดัง คำกล่าวของ นายไชยยศ จิรเมธากร รมช.ศึกษาธิการ (ศธ.) 15 กันยายน 2553 กล่าวภายหลังการบรรยายพิเศษเนื่องในโอกาสการจัดกิจกรรมวันเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี 2553  ในหัวข้อรวมพลังผลักดัน มาตรการ นโยบาย ควบคุมร้านเหล้ารอบสถานศึกษา”  จัด โดยเครือข่ายเยาวชนป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ว่า กฎหมายควบคุม ร้านเหล้ารอบสถานศึกษามีอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ได้มีการบังคับใช้อย่างจริงจัง และยังมีบางส่วนที่ต้องขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยวิธีการออกใบอนุญาตขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต่อไปอาจต้องแก้ระเบียบการระบุจุดที่ตั้ง ว่าไม่ควรจัดอยู่ในพื้นที่ใดบ้างให้ชัดเจน ซึ่งในปัจจุบันนี้สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ผู้ประกอบการเอาใบอนุญาตขายเหล้ามาโชว์เจ้าหน้าที่ โดยอ้างว่านี่คือใบอนุญาต ซึ่งความจริงแล้วการเปิดร้านที่มีการขายอาหาร เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประกอบกับการมีดนตรีต้องมีการขออนุญาตพิเศษเช่นเดียวกัน

ใน ขณะเดียวกัน ผู้บริการหรือร้านค้า ขายเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็ได้มีการพัฒนาสินค้าให้แก่เด็กรุ่นๆ ใหม่ มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะมีการออกสินค้าใหม่ๆ เช่นเหล้าปั้น ถึงขนาดผู้ประกอบการบางรายเปิดขายแฟรนไชส์ด้วยซ้ำไป โดยมีการสอนสูตรผสม สอนกลยุทธ์การตลาด ซึ่งก็ถือว่าได้พอสมควรผลเนื่องจากมีกลุ่มลูกค้าหันมาดื่มเหล้าปั่นมากขึ้น และทำให้คนหันมาขายเหล้าปั่นมากยิ่งขึ้น

ความ จริงกฎหมายร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ได้ห้ามเฉพาะห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เฉพาะในสถานศึกษาหรือบริเวณ สถานศึกษา แต่ยังมีสถานที่ที่ต้องห้ามอีกดัง มาตรา ๒๖ ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ดังต่อไปนี้

        (๑) วัดหรือสถานที่สำหรับปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา

        (๒) สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และร้านขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยา

        (๓) สถานที่ราชการ ยกเว้นบริเวณที่จัดไว้เป็นร้านค้าหรือสโมสร

        (๔) หอพักตามกฎหมายว่าด้วยหอพัก

        (๕) สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ

        (๖) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงหรือ ร้านค้าในบริเวณต่อเนื่องติดกับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง

                นี่หากมีการบังคับใช้กฎหมายกันอย่างจริงๆ จังๆ  กระผม คิดว่าคงจะปวดหัวกันน่าดู เพราะบางแห่งก็ยังมีการกระทำผิดกันอย่างต่อเนื่อง เช่น ข้อ 6 สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงหรือ ร้านค้าในบริเวณต่อเนื่องติดกับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง  แต่ในความเป็นจริง หากผู้บริโภคต้องการซื้อกันจริงๆ  ผู้ ขายก็มักใช้วิธีการแอบขายกัน ไม่ว่าภายในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงบางแห่งหรือร้านค้าบางแห่งในบริเวณ ต่อเนื่องติดกับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงก็แอบขายกัน 

                ซึ่ง ก็คล้ายกับการแอบขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบริเวณสถานศึกษา ที่บางช่วงสื่อได้ประโคมข่าวกัน จนทำให้เกิดการเข้มงวดกวดขัน การบังคับและดูแลกัน แต่เมื่อกระแสข่าวหมด สุดท้ายก็กลับมาเหมือนเดิม

                สุด ท้ายกระผมอยากขอร้องผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้มีการบังคับใช้กฎหมายกันอย่างจริงจัง เนื่องจาก การดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีผลกระทบในด้านลบมากกว่าด้านบวกดังที่สังคมโดยทั่วไปรู้ๆกัน เช่น ทำให้เกิดอุบัติเหตุหากบริโภคไปมากๆ ทำให้เกิดการทำร้ายร่างกายกัน ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาทกัน ทำให้เกิดการคุกคามทางเพศ  เป็นต้น







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น