วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ผู้ฟังอันตราย

ผู้ฟังอันตราย

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

www.drsuthichai.com

                                ใน การพูดแต่ละครั้ง เรามักวัดความสำเร็จของนักพูดหรือวิทยากร จากการประเมินผลหรือการให้คะแนนของผู้ฟัง ดังนั้น ผู้ฟังจึงมีความสำคัญมากสำหรับการเป็นนักพูด นักบรรยาย เพราะถ้าการพูดในครั้งนั้น ถ้าพูดแล้วคนฟังชอบ และมีการประเมินผลออกมาดีก็ถือว่าการพูดในครั้งนั้นๆ ประสบความสำเร็จ และถ้ายิ่งมีการเชิญให้มาพูดหรือเชิญมาให้บรรยายซ้ำๆ ก็ยิ่งถือว่าเป็นที่ยอมรับจากผู้ฟังมากยิ่งขึ้น

                                ใน บทความฉบับนี้ เราจะมาพูดกันถึง ผู้ฟังอันตราย กล่าวคือ ผู้ฟัง ที่มีลักษณะที่ผู้พูดไม่ต้องการเจอหรือต้องการเผชิญ แต่ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ผู้ฟังอันตรายมีดังนี้

                                1.ผู้ ฟังที่ง่วงนอน ผู้ฟังประเภทนี้พบมากในการสอนหนังสือในห้องเรียน รวมทั้งงานบรรยายของวิทยากร โดยเฉพาะช่วงบ่าย ซึ่งมักมีคำกล่าวว่า “ ช่วงปราบเซียน ” เนื่องจากหลังรับประทานอาหารเที่ยงเสร็จ ลักษณะของผู้ฟังมักจะมีอาการ “ หนังท้องตึง หนังตาหย่อน ”  วิธีแก้ไข ผู้พูดควรออกแบบกิจกรรมให้ผู้ฟังมีการเคลื่อนไหวบ้าง เช่น ให้ปรบมือ ให้ยืน ให้เล่นเกมส์เพื่อการศึกษา ฯลฯ

                                2.ผู้ ฟังประเภทจดบันทึก ผู้ฟังประเภทนี้มักจะตั้งหน้าตาจดบันทึก คำบรรยายหรือคำสอน จนกระทั่งไม่มองหน้า อาจารย์หรือวิทยากร ผู้ฟังประเภทนี้มีความตั้งใจมาก หากจดไม่ทันก็มักจะถาม ทำให้การพูดการบรรยาย ต้องช้าลง เนื่องจากกลัวผู้ฟังจดไม่ทัน วิธีแก้ไข ผู้พูดควรแนะนำผู้ฟังว่า หากจดไม่ทัน หลังจากการบรรยาย ผู้พูดมีเอกสารหรือข้อมูล ผู้ฟังสามารถนำไปคัดลอกหรือถ่ายเอกสารได้ สำหรับเวลาบรรยายขอให้ตั้งใจฟังก่อน

                                3.ผู้ฟังประเภทพูดคุยกัน ผู้ฟังประเภทนี้ รบกวนสมาธิของผู้พูดและผู้ฟังคนอื่นๆ มักจะพูดคุยกันในห้องเป็นระยะๆ  วิธี แก้ไข ผู้พูดควรสังเกตว่า การพูดคุยกันของผู้ฟัง เป็นการพูดคุยกันเรื่องส่วนตัวหรือเกี่ยวกับการอบรม หากเกี่ยวกับการอบรม ผู้พูดก็สามารถตั้งคำถาม เพื่อให้ผู้ฟังได้ถามหรือแสดงความคิดเห็น แต่หากไม่เกี่ยวกับการฝึกอบรมหรือการเรียน ผู้พูดอาจใช้สายตามองไปยังผู้ฟังบ่อยๆ เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเกรงใจ

                                4.ผู้ฟังประเภทหลับ แตกต่างจากประเภทแรกคือง่วงนอน ผู้ฟังประเภทหลับ มักเกิดจากหลายปัจจัย อาจเป็นนิสัยส่วนตัว  บาง คนอาจพักผ่อนมาน้อย นอนหลับมาน้อย ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย วิธีการแก้ไข ต้องมีกิจกรรมต่างๆ เสริมการบรรยาย ไม่บรรยายอย่างเดียว เช่น ให้ปรบมือเป็นจังหวะ  ร้องเพลง เต้น กล่าวคือทำให้บรรยากาศตื่นเต้นครึกครื้น

                                5.ผู้ฟังประเภททำลายจังหวะ  ผู้ ฟังประเภทนี้ เมื่อผู้พูดพูดไปก็มักจะมีคำถามระหว่างการสอนหรือการบรรยายตลอดเวลา ทำให้จังหวะในการพูดต้องเสียไป วิธีการแก้ไข เมื่อได้ตอบคำถามเสร็จ ก็ควรบอกผู้ฟังประเภทนี้ว่าสำหรับคำถามต่อไปกระผมขอตอบท้ายชั่วโมง เนื่องจากเวลามีจำกัดครับ 

                                6.ผู้ ฟังประเภทลองของ ผู้ฟังประเภทนี้ มักจะมีปมเด่น มักจะต้องการอวดภูมิความรู้ของตน และมักจะคิดว่าตนเองเก่งเลอเลิศกว่าผู้อื่น วิธีแก้ไข ต้องสังเกตให้รู้ว่าผู้ฟังต้องการอะไร เพราะถ้าต้องการเด่นหรือถ้าต้องการอวดภูมิความรู้ของตน เราก็อาจเปิดโอกาสให้เขาได้แสดงความคิดเห็นในห้องเรียนบ้าง เมื่อเขาแสดงความคิดเห็นแล้วเขาก็จะมีความสุขและความภูมิใจ แต่ข้อควรระวังคือ ต้องระวังอย่าให้ผู้ฟังประเภทนี้ยึดเวที เนื่องจากกระผมไปเจอบางงาน ผู้ฟังประเภทนี้พอได้ไมค์โครโฟนแล้ว ไม่ยอมปล่อยไมค์โครโฟน พูดอย่างเดียวทำให้เสียบรรยากาศในการพูดหรือเสียบรรยากาศในการจัดฝึกอบรม

                                ท้าย นี้ขอสรุปว่า ปัจจัยที่มีผลทำให้การพูดแต่ละครั้งประสบความสำเร็จ กล่าวคือผู้ฟัง หากถ้าผู้ฟังไม่ให้ความร่วมมือ คือไม่ยอมฟัง ก็ถือว่าการพูดการบรรยายในครั้งนั้นๆ มักจะมีปัญหาหรืออุปสรรคในการพูด ดังนั้น ถ้าอยากประสบความสำเร็จในการเป็นนักพูด เราควรเอาใจใส่และสนใจ ความต้องการของผู้ฟัง เมื่อเราตอบสนองความต้องการของผู้ฟังได้แล้ว ผู้พูดก็มักจะประสบความสำเร็จในการพูดในครั้งนั้นๆ

พูดอะไรพูดจริงทุกสิ่งเถิด                     จะบังเกิดลาภผลเป็นล้นหลาม

ปฏิบัติตนเยี่ยงผู้ดีไม่มีทราม                 พยายามสงวนศักดิ์รักเกียรติตน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น