วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หลักการเขียนบทความ

หลักการเขียนบทความ

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์


ลับปากกาคอยอนาคต เพราะการเขียนดี เป็นเครื่องมือสำคัญในความก้าวหน้าของท่าน

                ถ้า พูดถึงเรื่องงานเขียน งานเขียนมีหลายประเภทเช่น การเขียนนิทาน การเขียนเรื่องสั้น การเขียนเรียงความ การเขียนบทละคร การเขียนสารคดี การเขียนนวนิยาย การเขียนบทความ ฯลฯ

                ถ้า มีคนถามกระผมว่า แล้วผมชอบงานเขียนประเภทใด กระผมขอตอบแบบไม่คิดว่า กระผมชอบงานเขียนประเภทการเขียนบทความครับ แล้วกระผมก็มีโอกาสเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นและระดับประเทศเฉพาะ เดือนละไม่ต่ำกว่า 15 บท ความ ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับบรรดานักเขียนที่มีผลงานเป็นประจำ ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจเป็นเพราะว่ากระผมทำงานประจำและทำงานหลายด้านจึงไม่ค่อย มีเวลาเขียน

                แต่การที่กระผมได้มีโอกาสเขียนบทความเดือนละไม่ต่ำกว่า 15 บทความต่อเดือน แล้วเขียนมานานกว่า 10 ปี จึงอยากเขียนบทความฉบับนี้เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ให้แก่ท่านผู้อ่านและถ้า ท่านผู้อ่านมีอะไรเพิ่มเติมก็สามารถเสนอความคิดเห็นถึงกระผมได้ครับ

                บท ความ หมายถึง ความเรียงร้อยแก้ว ที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงความคิดเห็นของผู้เขียน โดยมีหลักฐานประกอบ อ้างอิง แต่ควรมีความคิดเห็นของผู้เขียนมากกว่าการแสดงข้อมูลหลักฐานต่าง เพราะถ้ามีข้อมูลมากๆ ก็จะกลายเป็นรายงานไปในที่สุด

                การ เขียนบทความที่ดีควรจะมีลักษณะคือ ต้องมีความน่าสนใจ มีเนื้อหาที่แปลกใหม่ มีความกะทัดรัด มีการอ้างอิง และมีวิธีการเขียนที่น่าสนใจชวนให้ติดตาม

                หลักการเขียนบทความที่ดี ควรมีโครงเรื่องแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ มีคำนำ มีเนื้อเรื่องและมีสรุปจบ ซึ่งทั้ง 3 ตอน ต้องมีความสอดคล้องกัน  สัมพันธ์กัน อาจลำดับความตามเวลา อาจลำดับความจากเหตุไปสู่ผล อาจลำดับความจากคำถามไปสู่คำตอบ

                สำหรับ ชื่อเรื่อง ควรตั้งชื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เมื่อคนอ่านแล้ว อยากรู้ อยากอ่านว่ามันเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร

                ลักษณะของการเขียนบทความที่ดีจะต้องมีการแสดงความคิดเห็นของผู้เขียน ที่แหลมคม มีเหตุมีผล มีความคิดที่ลึกซึ้งกว่านักเขียนคนอื่นๆ  ขณะเดียวกันการนำเสนอ สำนวนโวหาร ที่ดีจะเป็นส่วนช่วยให้งานเขียนบทความเกิดความน่าอ่านยิ่งขึ้น

                งานเขียนแบ่งออกเป็นหลายประเภท สำหรับงานการเขียนบทความก็แบ่งออกเป็นหลายประเภทเช่นกัน เช่น งานเขียนบทความประเภทวิจารณ์  บทความสัมภาษณ์ บทความเชิงวิชาการ บทความวิเคราะห์ บทความชีวประวัติ บทความให้คำแนะนำ เป็นต้น

                ท้าย นี้กระผมอยากฝากคำแนะนำสำหรับท่านผู้อ่านที่ต้องการเขียนบทความ เริ่มแรกท่านควรเลือกเขียนเรื่องที่ตนเองถนัด มีประสบการณ์ ท่านก็สามารถเขียนเรื่องนั้นได้ง่ายกว่าการที่ท่านเลือกเรื่องที่ตนเองไม่มี ความรู้ ไม่มีความถนัด  เมื่อท่าน สามารถเขียนบทความจากเรื่องที่ตนถนัดแล้ว ท่านจะเริ่มมีทักษะในการเขียนบทความ และเมื่อท่านต้องการให้บทความท่านเป็นที่นิยมหรือผู้อ่านรู้จัก ท่านก็ควรเขียนบทความในเรื่องที่ผู้คนกำลังให้ความสนใจ

                อีก ทั้งไม่ควรใช้ถ้อยคำที่ฟุ่มเฟือย ไม่เขียนวกวน ควรเขียนคำให้ถูกต้อง ควรมีพจนานุกรมไทยเป็นของตนเอง ควรมีย่อหน้าให้เหมาะสม เพราะการมีย่อหน้าจะทำให้ผู้อ่านอ่านบทความของท่านได้ง่ายกว่าการไม่มี ย่อหน้า  ต้องแสดงข้อมูลหลักฐานที่ เป็นความจริง เช่น สถิติ ตัวเลข แผนภูมิ ถ้าหากจะใช้วิธีการเขียนบทความแบบตั้งคำถามแก่ผู้อ่าน ก็ควรหาคำตอบไว้เป็นลำดับ  และต้องมีความกล้าหาญในการแสดงความคิดเห็น แต่เป็นความคิดเห็นประเภทสร้างสรรค์ ไม่ใช่ความคิดเห็นในทางทำลาย

ไม่มีน้ำตา เสียงหัวเราะจากนักเขียนก็ไม่มีน้ำตาและเสียงหัวเราะจากผู้อ่าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น