วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

บทความที่ลงตะกร้า

บทความที่ลงตะกร้า

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

http://www.drsuthichai.com

การเขียนบทความที่ดี นักเขียนบทความจะต้องคิดให้ลึก คิดให้คมและคิดให้รอบด้าน

                มี คำถามว่าทำไมเราเขียนบทความส่งแล้ว ทำไมถึงไม่ได้ลงในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ งานเขียนของเรามีความบกพร่องอย่างไรหรือ ?  ความ จริงแล้วการเขียนบทความแล้ว บรรณาธิการสื่อสิ่งพิมพ์ไม่ได้พิจารณาลงในหนังสือพิมพ์ หรือสื่อสิ่งพิมพ์ แต่กลับลงในตะกร้าแทน(ในอดีตมีการส่งบทความทางไปรษณีย์โดยการพิมพ์หรือเขียน ลงในกระดาษเพื่อให้บรรณาธิการพิจารณาแต่ยุคปัจจุบันมีการส่งบทความทาง อินเตอร์เน็ต) มีหลายปัจจัย เช่น

-                    ความไม่ทันสมัยหรือไม่ทันเหตุการณ์ สมัยก่อนมีปัญหามากเมื่อพูดถึงประเด็นนี้

เนื่อง จากว่าสมัยก่อนเครื่องมือสื่อสารไม่ทันสมัยเหมือนยุคปัจจุบัน เมื่อนักเขียนบทความในอดีตเขียนเสร็จ ก็ส่งบทความใส่จดหมายแล้วส่งทางไปรษณีย์ ซึ่งต้องใช้เวลา 3-7 วัน ทำให้สถานการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เขียนเปลี่ยนไป ทำให้บทความนั้นแทนที่จะทันสมัยทันเหตุการณ์กับเป็นบทความที่เชย แต่ในยุคปัจจุบันเราสามารถส่งทางอินเตอร์เน็ตหรือแฟกซ์ได้ จึงทำให้บทความที่เราเขียนมีโอกาสได้รับการพิจารณามากขึ้น

-                    มีเนื้อหาของบทความไม่สอดคล้องกับแนวทางของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น เช่น หาก

ท่าน เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องการเมือง ท่านควรส่งบทความของท่านไปที่หนังสือพิมพ์มติชน ท่านจะมีโอกาสได้รับพิจารณามากกว่าท่านส่งบทความทางการเมืองไปยังหนังสือ พิมพ์ไทยรัฐ

                -      เนื้อหา สำนวนภาษา ชื่อบทความ การย่อหน้า เทคนิคในการเขียนไม่ดีพอ นักเขียนหน้าใหม่มักไม่มีประสบการณ์ในการเขียนบทความ จึงลำดับเรื่องไม่ดีพอ อีกทั้งการใช้สำนวนภาษาไม่ถูกต้อง ชื่อบทความก็ไม่ดึงดูดใจ ไม่เด่นพอ ไม่มีย่อหน้า เทคนิคการเขียนก็ออกไปในลักษณะขาดๆ เกินๆ เนื่องจากบรรณาธิการไม่ค่อยมีเวลา เพราะบทความที่ส่งมามีจำนวนมาก อีกทั้งยังมีงานอื่นๆ ต้องทำ หากเนื้อหา สำนวนภาษา ชื่อบทความไม่เด่น เทคนิคการเขียนไม่ดีพอ นักเขียนบทความหน้าใหม่จึงมีโอกาสได้รับการพิจารณาน้อยกว่านักเขียนบทความ หน้าเก่าที่ผู้อ่านรู้จักอยู่แล้ว

                -     ชื่อ ผู้เขียนบทความยังใหม่ไม่ติดตลาดหรือยังไม่มีใครรู้จัก หากเทียบกับนักเขียนบทความที่มีชื่อเสียงระดับประเทศแล้ว เช่น อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ , อาจารย์วิทยากร เชียงกูล , อาจารย์เจิมศักดิ์  ปิ่น ทอง ฯลฯ หนังสือพิมพ์มักจะพิจารณาบุคคลดังกล่าวมากกว่านักเขียนบทความหน้าใหม่ เนื่องจากบุคคลที่มีชื่อเสียงเหล่านี้มีทุนทางสังคมเป็นที่รู้จักของผู้อ่าน จึงมักมีแฟนประจำติดตามอ่านบทความของบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคม

                ใน การเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ กระผมมีข้อเสนอเพิ่มเติมอย่างนี้ครับ สำหรับคนที่หัดเขียนบทความ หากท่านต้องการให้บทความได้ลงในหนังสือพิมพ์ ท่านควรเลือกเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นตามจังหวัดที่ท่านอยู่ก่อน อย่าได้คาดหวังว่าจะต้องเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ระดับประเทศ หากไม่ได้ลงก็จะไม่เขียนอีก หากคิดอย่างนั้น ท่านอาจต้องผิดหวัง เนื่องจาก หนังสือพิมพ์ระดับประเทศ เช่น นสพ.ไทยรัฐ , นสพ.มติชน, นสพ.เดลินิวส์ ฯลฯ มีนักเขียนบทความประจำอยู่แล้ว มีพื้นที่น้อยมากสำหรับนักเขียนบทความภายนอก อีกทั้งเมื่อท่านเขียนส่งไป ท่านก็ต้องแข่งขันกับนักเขียนบทความระดับประเทศ ดังนั้นควรเริ่มต้นจาก หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในจังหวัดของท่านก่อน หากมีหลายฉบับควรเลือกหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่เปิดใหม่ บทความของท่านจะมีโอกาสได้ลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับใหม่มากกว่าหนังสือ พิมพ์ฉบับเก่าครับ และอีกช่องทางหนึ่งที่ท่านสามารถเขียนบทความลงได้ก็คือ ทางอินเตอร์เน็ต ดังนั้นขออย่าได้ดูถูกเวทีเล็กหรือหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับเล็ก หรือ ช่องทางทางอินเตอร์เน็ต เมื่อท่านฝึกฝนการเขียนบทความจนดีเยี่ยมแล้ว อีกทั้งชื่อเสียงของท่านมีพอสมควร โอกาสที่ท่านจะเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ระดับประเทศย่อมมีโอกาสมากยี่ งขึ้น

ถ้าไม่ได้เป็นนักอ่านบทความ อย่าริเป็นนักเขียนบทความ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น