วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สื่อมวลชนกับชุมชน

สื่อมวลชนกับชุมชน

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

www.drsuthichai.com

                ใน ยุคของข้อมูล เรามักคงเคยได้ยินว่า “ ใครมีข้อมูลมาก คนนั้นมีอำนาจมาก ” ฉะนั้นใครมีข้อมูลมากคนนั้นย่อมได้เปรียบคนที่มีข้อมูลน้อย

                ข้อมูล ข่าวสารในปัจจุบันจึงมีจำนวนมาก อีกทั้งช่องทางและเครื่องมือ สถานีต่างๆก็มีมากตามไปด้วย เช่น โทรทัศน์ช่องต่างๆ โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม วิทยุสถานีหลัก วิทยุชุมชน  เว็ปไซค์ต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ต ฯลฯ

                การ สื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพจึงต้องหาเครื่องมือที่สำคัญช่วย เพื่อทำความเข้าใจในหลากหลายมิติของสังคมหรือพูดอีกอย่างได้ว่า การสื่อสารสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้หลากหลายมิติ เช่น นักการตลาด นักประชาสัมพันธ์ ก็ใช้การสื่อสารและเครื่องมือช่วยเพื่อยกระดับของสังคมได้เช่นกัน  นักการเมืองก็สามารถใช้การสื่อสารและเครื่องมือช่วยในการสื่อสารกับประชาชนในเรื่องประชาธิปไตยได้เช่นกัน

                การสื่อสารเพื่อสุขภาพของชุมชน การสื่อสารเรื่องสุขภาพของคนในชุมชนมีความสำคัญ  ดัง นั้นในปัจจุบันเราจะเห็นการร่วมกันทำงานเรื่องสุขภาพขององค์กรที่ทำงานด้าน สุขภาพ ในการทำงานเรื่องการสื่อสารร่วมกัน เช่น สช. สสส. สปสช. สวรส. และ มสช.

                เมื่อการสื่อสารมีความสำคัญ จึงทำให้คนที่มีอำนาจ  มีเงิน บางส่วนใช้ ช่องทางและเครื่องมือ สถานีต่างๆ เสนอข่าว แต่แง่มุมของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเมือง  สินค้าบริโภค อุปโภค  ซึ่งทำให้ผู้บริโภคสื่อหลงเชื่อ ทำให้ตกเป็นเหยื่อ  ซึ่งนักสื่อสารที่ดีควรสื่อสารให้รอบด้าน และควรให้แง่คิดที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

                ถาม ว่าสื่อมวนชนสามารถช่วยเหลือชุมชนอย่างไร ช่วยได้ครับ เช่น น้ำท่วมทางภาคใต้ การช่วยเหลือพี่น้องชาวภาคใต้ที่ได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว ดังคุณสรยุทธ์ ช่อง 3 ประกาศ ข่าวขอความช่วยเหลือเงินทอง ข้าวของต่างๆ ซึ่งได้รับความช่วยเหลือ เป็นเงินนับสิบล้านและสิ่งของต่างๆอีกมากมาย แต่ตรงกันข้ามกับการทำงานของรัฐบาลหรือระบบราชการ ที่ให้ความช่วยเหลือ ซึ่งมีความล่าช้ากว่า              

                วิทยุชุมชน เป็นกระแสที่ทำให้ชุมชนเกิดการร่วมมือกัน  มี การใช้วิทยุชุมชนเพื่อเป็นช่องทางในการพูดคุยเรื่องปัญหาของชุมชน เรื่องดีๆของชุมชน อีกทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้คนไม่มีโอกาสออกอากาศได้ออกเช่น ชาวไร่ ชาวนา กรรมกร ผู้ใช้แรงงาน อาชีพต่างๆ สามารถออกวิทยุชุมชนได้ จัดรายการได้ การตั้งสถานีวิทยุชุมชนก็ใช้เงินทุนน้อยกว่าวิทยุหลัก  ทำให้วิทยุหลักมีคนฟังน้อยลง โฆษณาน้อยลง

                วัฒนธรรมจากต่างชาติ เข้ามากลืนกินวัฒนธรรมชุมชน  ปัจจุบัน ประเทศไทยเราเป็นยุคทุนนิยม เป็นยุคการค้าเสรี เป็นยุคบริโภคนิยม   ทำให้วัฒนธรรมชุมชนเริ่มเกิดการจางหาย อีกทั้งคนรุ่นใหม่เริ่มมีการเลียนแบบวัฒนธรรมต่างชาติ ดังเช่น ภาพยนตร์หนังเกาหลีที่ช่อง 3 นำมาฉายทำให้คนไทยบางกลุ่มเริ่มเกิดการเลียนแบบ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่

                วิทยุ ชุมชน จึงเป็นเครื่องมือตัวใหม่ที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง เกิดการสร้างอาชีพ เกิดการสร้างโอกาสต่างๆให้เกิดขึ้นกับชุมชน วัฒนธรรมท้องถิ่นจะไม่ถูกกลืนกิน อาหารท้องถิ่นจะยังคงอยู่ อันเนื่องมาจากการสื่อสาร

                หอกระ จายข่าวชุมชน เป็นอีกสื่อหนึ่งที่เข้าถึงชุมชนในแต่ละพื้นที่ตรงจุด การรวมกลุ่มกันของหอกระจายข่าว หมู่บ้าน ตำบล จึงมีความสำคัญในการสื่อสารถึงคนในชุมชน

                ประเทศไทยในอนาคต  เราอยากเห็นประเทศไทยเป็นอย่างไร เด็กติดเหล้า ติดยาเสพติด เด็กขายตัว หรือ สังคมไทยที่ช่วยเหลือกัน เอื้อเฟื้อกัน  เราคงต้องช่วยกัน ซึ่งคงต้องช่วยกันหลายฝ่าย พี่น้องสื่อมวลชนก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่เป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือชุมชน 

                ดังนั้น นักสื่อสารมวลชนจะช่วยสื่อสารกับชุมชน อย่างไร เราควรสื่อสารในเรื่อง วัฒนธรรมชุมชน ภูมิปัญญาของชุมชน วิถีชีวิตชุมชน  สุขภาพของประชาชนในชุมชน  อีกหน้าที่หนึ่งก็คือ การสร้างกระแสการพัฒนา ด้วยการ ให้ข่าวชุมชน ให้ความบันเทิง  ให้ข่าวราชการ ควรใช้สื่อในการเป็นเวทีแลกเปลี่ยนสิ่งดีๆในชุมชน ไม่ควรมอมเมาโดยสื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน  อีกทั้งต้องมีความหลากหลายในการเข้าถึง กลุ่มเป้าหมาย






















 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น