วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

เทคนิคการทำให้ผู้อ่านสนใจ

เทคนิคการทำให้ผู้อ่านสนใจ
โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
                งานเขียนโดยมากมักมีความยาวและถ้าเป็นงานเขียนในเชิงวิชาการด้วยแล้ว อาจทำให้ผู้อ่านโดยทั่วไปเกิดความเบื่อหน่ายขึ้นได้ ดังนั้นถึงแม้งานเขียนของเราจะมีสาระ เนื้อหา แง่มุมดีขนาดไหน แต่ถ้าผู้อ่านไม่มีความสนใจอยากที่จะอ่านหรือไม่อ่าน งานเขียนของเราเลย งานเขียนนั้นก็ไร้ค่า สู้งานเขียนที่มีสาระน้อยกว่า แต่คนหยิบอ่านไม่ได้ แล้วจะทำอย่างไรให้งานเขียนของเราเป็นที่สนใจของผู้อ่าน เราสามารถสร้างความสนใจในงานเขียนของเราได้ด้วยวิธีดังนี้
  1. การใช้รูปภาพประกอบ  การใช้รูปภาพประกอบจะทำให้ผู้อ่านเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เพราะเนื้อหาบางอย่าง
อาจซับซ้อน สับสน ซึ่งยากต่อการอธิบาย เช่น การแสดงขั้นตอนต่างๆ ในการผสมพันธ์พืชหรือสัตว์ ,  ภาพแสดงชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆของยานอวกาศ ,  ภาพโมเดลกระบวนการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น การใช้ภาพประกอบจึงมีความสำคัญดังคำกล่าวที่ว่า “ ภาพเพียง 1 ภาพ แทนคำพูดเป็น 1,000 คำ)
  1. การใช้ตาราง เราสามารถใช้ตารางได้ในกรณีที่เรามีความต้องการเปรียบเทียบข้อมูล เปรียบเทียบตัวเลข  การ
ใช้ตารางที่ดีไม่ควรมีความยาวเกิน 1 หน้า กระดาษ แต่หากมีความจำเป็นก็ควรทำตารางให้อยู่ในหน้าที่คู่กัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกในการอ่านของผู้อ่าน
  1. การใช้กราฟ แผนภูมิแท่ง  ประกอบการเขียน การใช้กราฟ แผนภูมิแท่ง จะทำให้ผู้อ่านทราบทันทีว่า อันไหน
มากกว่าอันไหน อันไหนสูงกว่าอันไหน อีกทั้งยังมีประโยชน์คือ เป็นการดึงดูดความสนใจ ประหยัดเวลา สร้างความแตกต่าง ในการนำเสนออีกด้วย
  1. ตัวหนังสือและการเน้นคำ  ควรใช้รูปแบบที่อ่านง่าย  อีกทั้งยังต่อมีการพิสูจน์คำผิดให้มีการผิดพลาดให้น้อย
ที่สุด เพราะถ้าหากหนังสือมีคำผิดมากๆ ผู้อ่านหรือผู้ซื้อ อาจทักว่าเป็นหนังสือที่ไม่ดี  การเน้นคำ ก็มีความสำคัญ ถ้าเราต้องการสื่อให้ผู้อ่านรับรู้ว่า ข้อมูลนี้มีความสำคัญ เราก็ควรเน้นคำให้มีความเด่นชัดขึ้น ซึ่งการเน้นคำให้ผู้อ่านทราบมีเครื่องมือหลายอย่าง เช่น อาจใช้วิธีขีดเส้นใต้ , การทำให้เป็นอักษรตัวทึบหรือแรเงา , การมีสัญญาลักษณ์ต่างๆ(ลูกศร ,ดอกจัน,สี่เหลี่ยม ,วงกลม , จุดกลมทึบ เป็นต้น)
                5.ขนาดของหนังสือและกระดาษ มีความสำคัญต่อนักอ่านมาก มีคนตั้งคำถามกับกระผมว่า ขนาดของหนังสือ ขนาดไหนดี กระผมคงตอบให้ไม่ได้ทั้งนี้ก็คงขึ้นอยู่กับ ประเภทของหนังสือเป็นหลัก เพราะถ้าหากเป็นหนังสือดนตรีสำหรับเด็กหรือนิทานสำหรับเด็ก ก็ไม่ควรทำหนังสือให้เล็กจนเกินไป เพราะจะทำให้ตัวโน้ตดนตรีหรืออักษรเล็ก จนเด็กๆ มองไม่เห็นแล้วจะไม่ชอบอ่าน การเลือกกระดาษก็สามารถดึงดูดใจผู้อ่านได้ไม่ใช่น้อย เช่น สีของกระดาษ , ความหนาความบาง , กระดาษสะท้อนแสง เคลือบมัน เป็นต้น แต่สำหรับคนที่เป็นนักการตลาดหรือมีความคิดสร้างสรรค์ อาจจะออกแบบขนาดของหนังสือเอง ซึ่งอาจแตกต่างจากหนังสือทั่วไป ก็สามารถดึงดูดใจผู้อ่านได้ไม่ใช้น้อย เช่น ออกแบบขนาดหนังสือให้ใหญ่กว่าปกติหรือเล็กกว่าปกติ , ออกแบบหนังสือให้มีขนาดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส  ซึ่งสามารถสร้างความแตกต่างหรือทำให้เกิดความแตกต่างของสินค้าคือหนังสือได้
                6.ปกหนังสือ ปกหนังสือมีความสำคัญมาก เพราะเป็นประตูด่านแรกที่ทำให้คนอยากเปิดอ่านหนังสือของเราหรือไม่ การออกแบบปกจึงมีความสำคัญ ปกต้องเด่น ชวนให้ผู้อ่านอยากหยิบขึ้นมาอ่านเมื่อได้เห็น ซึ่งการออกแบบปกจะต้องทำให้เกิดความแตกต่างกับปกหนังสือเล่มอื่นๆ ในประเภทเดียวกัน  อีกทั้งยังต้องยอมที่จะลงทุนเพิ่ม เนื่องจาก การพิมพ์สี่สีแพงกว่าการพิมพ์สองสี การเคลือบมันปก การทำให้เป็นอักษรตัวนูน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ต้องลงทุนเพิ่มทั้งสิ้น
                ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จึงมีความสำคัญ แต่ความสนใจของผู้อ่าน และยังคงมีรายละเอียดต่างๆ อีกมากที่ยังไม่ได้กล่าวถึงแต่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้ เช่น สำนักพิมพ์และโรงพิมพ์ที่พิมพ์ , คำนำ คำนิยม ,  ราคา , ความชัดเจนของอักษรในการพิมพ์ เป็นต้น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการดึงดูดความสนใจของผู้อ่านและมีคุณค่าอย่างแท้ จริงสำหรับผู้อ่านก็คือ เนื้อหาสาระ ประโยชน์ของงานที่เราเขียนนั้นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น